อำนาจหน้าที่
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ของเทศบาล
30 พฤศจิกายน 542

0


         การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเคียนซา  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมสร้าง  ร่วมจัดทำ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่  ของเทศบาลตำบลเคียนซา  ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้านการพัฒนาเทศบาล จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ปัญหา และมีความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง  เทศบาลตำบลเคียนซายังได้เน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร  นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมการสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน  และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้น  จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น  และเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดนส่วนรวม

     การวิเคราะห์ภารกิจ  อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเคียนซา ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496   พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของเทศบาล ใช้เทคนิค swot  เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร  โดยวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม  ในการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด   นโยบายรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น  ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา   โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจ ได้เป็น 7 ด้าน  ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496   และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542  ดังนี้

1.   ด้านโครงสร้างพื้นฐานมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1)      การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ

(2)      สาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

(3)      การสาธารณูปการ

(4)      การสาธารณูปโภคและก่อสร้าง

(5)      การควบคุมอาคาร

(6)      การบำรุงไฟฟ้าและแสงสว่าง

(7)      การจัดให้มีน้ำสะอาด หรือการประปา

(8)      การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

(9)      การจัดให้มีการสร้างและบำรุงรักษาทางถนน ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

2.    ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ 

(1)      การจัดการศึกษา ให้ทั่งถึง  พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย

(2)      การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ

(3)      การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(4)      รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดิน  และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอย

(5)      การป้องกันและระงับโรคติดต่อ

(6)      การจัดให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

(7)      การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สตรี  เด็กเยาวชน คนชรา ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ

(8)      การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

(9)      การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

(10) การจัดให้มีการบำรุงสถานที่สำหรับนักกีฬา  การพักผ่อนหย่อนใจ  สวนสาธารณะ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร

3.   ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

(1)      การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(2)      การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  การจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง

(3)      การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและการรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน 

(4)      การผังเมือง

(5)      การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตพื้นที่

4.  ด้านการวางแผน  การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว  มีภารกิจหน้าที่เกี่ยว ดังนี้

(1)      บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

(2)      ให้มีตลาด 

(3)      การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 

(4)      การส่งเสริมการลงทุน

(5)      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

(6)      การส่งเสริมการท่องเที่ยว

(7)      การพาณิชย์  การส่งเสริมการลงทุนและการทำกิจกรรมไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ

5.  ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้องดังนี้ 

(1)      การจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

(2)      การคุ้มครอง ดูแลบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

(3)      การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(4)      การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(5)      การดูแลรักษาสาธารณะ

6.  ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1)      บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 

(2)      การส่งเสริมการศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

(3)      การจัดการศึกษา

(4)      การส่งเสริมการกีฬา  จารีตประเพณี  และวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น

7.  ด้านการบริหารการจัดการ และการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1)      การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

(2)      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

(3)      การประสานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

(4)      การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

      ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนด ให้อำนาจเทศบาล ให้วิเคราะห์ว่า ภารกิจดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาของเทศบาลตำบลเคียนซา ได้อย่างไร ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ด้วย  การดำเนินการของเทศบาลควรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอำเภอ  แผนพัฒนาจังหวัด  นโยบายรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารเทศบาล

ภารกิจหลัก และภารกิจรองที่เทศบาลจะต้องดำเนินการ

          ภารกิจหลัก

1.      การจัดให้มีและการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

2.      การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

3.      การสาธารณูปการ และการประปา

4.      การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

5.      การส่งเสริมการศึกษา

6.      การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

7.      การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

8.      ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

9.      การบริหารงานทั่วไป 

10.  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา  และผู้ด้อยโอกาส

11.  การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ

12.  การกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

13.   การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

14.   การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

15.  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

16.    การส่งเสริมคุณภาพชีวิต

17.   การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

18.   การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

19.   การพัฒนาการเมืองและการบริหาร

ภารกิจรอง

1.      การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว

2.      การจัดให้มีและควบคุมตลาด

3.      การส่งเสริมการท่องเที่ยว

4.      การักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริม และสนับสนุน  การป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5.      การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน

6.      การวางแผน ส่งเสริมการลงทุน